สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับปัญหาการมองเห็นที่พบบ่อย

ผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการมองเห็นอาจมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ด้านล่างคือปัญหาสายตา 4 ประเภท ที่สามารถแก้ไขด้วยแว่น หรือคอนแทคเลนส์

ACUVUE
Young woman looking straight ahead with a smile, while having her laptop on her right side.
หัวข้อที่สนใจ:
สายตาสั้น

สายตาสั้น คืออะไร?

สายตาสั้น เป็นภาวะค่าสายตาผิดปกติ ที่เกิดจากดวงตาหักเหแสงจากวัตถุมากเกินไป หรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติหรือลูกตายาวผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้การมองเห็นที่ระยะไกลไม่ชัด
สาเหตุ
ผู้ชายมีหนวดกำลังคุยโทรศัพท์

สาเหตุของสายตาสั้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดสายตาสั้นมีหลายปัจจัย เช่น การใช้สายตาในระยะใกล้มากเกินไป (การอ่านหนังสือ หรือการใช้หน้าจอ) ทำกิจกรรมนอกบ้านน้อย และพันธุกรรม

ภาพครอบครัวพ่อแม่ลูกนั่งอยู่ด้วยกันและกำลังถ่ายรูปเซลฟี่

บุตรหลานของคุณมีปัญหาในการมองเห็นหรือไม่?

ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการประมาณการว่าเด็กประมาณหนึ่งในสาม ในสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากปัญหาสายตาสั้น และนั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราให้ความสำคัญถึงการมองเห็นที่ชัดเจนในเด็ก

สายตายาว

สายตายาว คืออะไร?

สายตายาว คือ การที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ได้ชัดเจนในระยะไกล แต่ไม่สามารถมองวัตถุต่างๆ ในระยะใกล้ได้อย่างชัดเจน
สาเหตุ
ผู้หญิงผมสั้นเป็นลอนใส่เสื้อสีแดง

สาเหตุของสายตายาว

สายตายาว เกิดจากแสงจากวัตถุไปโฟกัสหลังจอประสาทตาแทน ซึ่งส่งผลให้เห็นภาพไม่ชัดเจน คนส่วนใหญ่จะเกิดมาพร้อมกับสายตายาว และบางคนจะสายตายาวมากกว่าปกติ ซึ่งสายตามีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา
สายตาเอียง

สายตาเอียงคืออะไร?

สายตาเอียงคือการมองเห็นภาพไม่ชัด ภาพซ้อน หรือบิดเบี้ยวในทุกระยะการมอง ที่เกิดจากความโค้งของดวงตาที่ผิดปกติ

สาเหตุ
สาวน้อยผมหยิกหันมามองและยิ้มใต้แสงแดดจากดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลัง

สาเหตุของสายตาเอียง

การมองเห็นภาพที่คมชัด จะเกิดขึ้นเมื่อผิวความโค้งของกระจกตามีความโค้งกลมเหมือนลูกบอล แต่คนที่มีปัญหาสายตาเอียง ผิวความโค้งของกระจกตาจะมีรูปร่างเหมือนลูกรักบี้ จึงทำให้การรวมแสงเมื่อผ่านเข้าสู่ดวงตาไม่รวมเป็นจุดเดียว
สายตายาวตามวัย

สายตายาวตามวัย คืออะไร?

สายตายาวตามวัย คือ ความสามารถในการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ลดลง ทำให้การมองเห็นระยะใกล้ไม่ชัด ซึ่งจะเริ่มส่งผลกระทบต่อทุกคนที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป

สาเหตุ
ผู้ชายสวมเสื้อยืดสีฟ้ากำลังทำงานบนคอมพิวเตอร์เงยหน้าขึ้นมามองกล้อง

สาเหตุของสายตายาวตามวัย

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เลนส์ภายในตาจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น และความสามารถให้การปรับระยะโฟกัสจะลดลง ส่งผลต่อการมองเห็นในระยะใกล้

เริ่มใส่คอนแทคเลนส์แอคคิววิว

ทดลองใส่คอนแทคเลนส์ฟรี

สมัครสมาชิกมายแอคคิววิว และทดลองคอนแทคเลนส์ฟรี ได้ที่ร้านแว่นตาที่ร่วมรายการใกล้บ้านคุณ

หาร้านค้าใกล้คุณ

ใช้แผนที่ของเรา ในการหาร้านแว่นตาใกล้คุณ ที่มีผลิตภัณฑ์ของแอคคิววิวจำหน่าย

รับส่วนลดพิเศษ

สมัครสมาชิกมายแอคคิววิว ฟรี เพื่อรับส่วนลดพิเศษสำหรับสมาชิกใหม่ พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆ

หมายเหตุ

อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

คำแนะนํา การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น

คำเตือน การใช้เลนส์สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธีมีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียตาอย่างถาวรได้

ข้อห้ามใช้ 1.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กําหนด 2.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น 3.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทําความสะอาดทุกวัน

ข้อควรระวัง 1.ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัส 2.ควรใช้น้ำยาล้าง เลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสําหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน 3. ควรเปลี่ยนตลับใส่เลนส์สัมผัส ทุกสามเดือน 4.ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทําให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้ 5.ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์ 6.หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือ ปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมาก หรือตาแดง ให้หยุดใช้เลนส์สัมผัสทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว 7.ห้ามใช้เลนส์สัมผัสถ้าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพชำรุดหรือถูกเปิดก่อนใช้งาน

ผู้นําเข้า บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เมดเทค (ประเทศไทย) จํากัด 134/1 ฉลองกรุง31 ลําปลาทิว ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทร 001 800 156 207 8225

2024PP12875
ACUVUE
We support the AdvaMed Code of Ethics on interacting with Healthcare Professionals.
โลโก้สัญลักษณ์สมาคมการค้าเครื่องมือแพทย์ของอเมริกา
เว็บไซต์นี้เผยแพร่โดย บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เมดเทค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเนื้อหาบนเว็บไซต์นี้แต่เพียงผู้เดียว เว็บไซต์นี้สำหรับใช้งานในประเทศไทย