พื้นฐานสุขภาพตา

การดูแลสุขภาพตาของคุณ

หากมีสุขภาพตาที่ดีก็ไม่หวั่นแม้จะอยู่หน้าจอหรือต้องทำกิจกรรมข้างนอกตลอดทั้งวัน
ACUVUE
ชายหนุ่มกำลังเล่นกีฬาในเสื้อยืดสีเทา มองไปทางด้านขวา
เด็กผู้ชายสะพายกระเป๋าเป้กำลังกระโดด

พบผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาปีละครั้ง

การตรวจตานั้นเป็นมากกว่าการมองเห็น เพราะแท้จริงแล้วการตรวจตาสามารถบ่งชี้โรค มากกว่า 270 โรค ตั้งแต่เบาหวานจนถึงโรคหัวใจ คุณสามารถตรวจวัดค่าสายตาและตรวจสุขภาพตาเบื้องต้น กับนักทัศนมาตรที่ร้านแว่นตาใกล้บ้านคุณ แต่การตรวจโรคตาอื่นๆ อาจจะต้องตรวจกับจักษุแพทย์
ในโรงพยาบาล

ผู้หญิงผมสั้นใส่เสื้อสีขาวหันมายิ้มให้กล้อง

ปกป้องดวงตาจากแสงแดด

ดวงตานั้นอ่อนไหวต่อรังสียูวีดังเช่นผิวหนัง การป้องกันดวงตาจึงสำคัญ เช่น สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกปีกกว้าง และใส่คอนแทคเลนส์ที่ป้องกันรังสียูวี

อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา

อาหารบางชนิดสามารถช่วยเรื่องสุขภาพตาในตั้งแต่ตอนนี้และยังป้องกันอันตรายต่อดวงตาที่อาจเกิดได้ในอนาคต รวมถึงยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตาบางชนิด เช่น ต้อกระจก หรือ จอประสาทตาเสื่อม ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินและสารอาหารเหล่านี้

ลูทีน และ ซีแซนทิน

สารอาหารเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น ต้อกระจก ซึ่งสามารถพบได้ใน ผักเคล ผักโขม บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ราสเบอร์รี มะละกอ ลูกพีช และมะม่วง

วิตามินซี

วิตามินชนิดนี้สามารถชะลอความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก และเมื่อรับประทานร่วมกับสารอาหารอื่นๆ ยังช่วยชะลออาการจอประสาทตาเสื่อมตามอายุและการสูญเสียการมองเห็น วิตามินซีสามารถพบได้ในส้ม เกรปฟรุต กีวี่ สตรอว์เบอร์รี มะเขือเทศ บรอกโคลี และ พริกหวานสีเขียวและแดง

วิตามินอี

วิตามินชนิดนี้ช่วยป้องกันดวงตาและสามารถพบได้ใน อัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน น้ำมันพืช อะโวคาโด จมูกข้าว และมันหวาน

กรดไขมันที่จำเป็น

กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยพัฒนาการมองเห็น การทำงานของจอประสาทตา ลดการอักเสบ และเพิ่มคุณภาพการผลิตของน้ำตา แหล่งกรดไขมันที่จำเป็นนั้นมาจากปลา เช่น แซลมอน และทูน่า

สังกะสี

สังกะสีจะช่วยส่งวิตามินเอไปยังจอประสาทตาเพื่อผลิตเม็ดสีที่ปกป้องดวงตาของเรา สังกะสีนั้นสามารถพบได้จากถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืช เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่

ผู้หญิงสองคนกำลังสนทนากันขณะนั่งอยู่ในห้องนั่งเล่น

ผู้ปกครอง: ช่วยให้ลูกของคุณเต็มที่กับทุกกิจกรรมในโรงเรียน

ในยุคการเรียนรู้แบบดิจิทัล เด็กๆ ยิ่งใช้เวลาหน้าจอมากขึ้น เรียนรู้ผลกระทบต่อดวงตาและเคล็ดลับการดูแลสุขภาพตาได้ที่นี่

ผู้ชายใส่เสื้อเชิ้ตกำลังมองไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์

คุณใช้สายตาในการทำงานหนักใช่หรือไม่

ทั้งการประชุมออนไลน์ อีเมล งานเอกสาร

ยิ่งทำงานหน้าจอมากขึ้น ยิ่งควรดูแลสุขภาพตาให้ดียิ่งขึ้น

เรียนรู้อะไรกับต่อดี?

นอกจากจะเรียนรู้พื้นฐานการดูแลสุขภาพตาแล้ว เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสายตาและอาการของดวงตาเพื่อจะได้ดูแลดวงตาได้อย่างดีตลอดชีวิต

กายวิภาคของดวงตา

ดวงตาของเรานั้นประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลายอย่างที่สำคัญ ซึ่งช่วยในการมองเห็น

รูปภาพใช้เพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้นและอาจไม่แม่นยำตามหลักกายวิภาค

ภาพวาดแสดงบริเวณเปลือกลูกตา

เปลือกลูกตา

เนื้อเยื่อชั้นนอกที่คลุมลูกตา เรียกอีกอย่างว่าตาขาว
ภาพวาดแสดงบริเวณของกระจกตา

กระจกตา

มีลักษณะโค้งทรงโดม เรียบใส อยู่หน้าสุดของลูกตา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านและหักเหของแสง
ภาพวาดแสดงบริเวณเยื่อบุตา

เยื่อตา

เนื้อเยื่อบางใสที่คลุมและปกป้องตาขาวและอยู่ด้านในของเปลือกตา
ภาพวาดแสดงบริเวณม่านตา

ม่านตา

เป็นส่วนที่ระบุสีของดวงตา เป็นตัวหดหรือขยายรูม่านตาเพื่อรองรับแสงที่เข้ามา
ภาพวาดแสดงบริเวณรูม่านตา

รูม่านตา

จุดสีดำขนาดเล็กอยู่ตรงกลางของม่านตา ซึ่งเป็นตัวรับแสงเข้าสู่ดวงตา
ภาพวาดแสดงบริเวณเลนส์ตา

เลนส์ตา

เนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นซึ่งอยู่หลังม่านตาและรูม่านตา ทำหน้าที่โฟกัสแสงที่จอตา
ภาพวาดแสดงบริเวณจอตา

จอตา

เนื้อเยื่อชั้นหลังสุดของดวงตา ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อแสงและส่งสัญญาณผ่านประสาทตาไปที่สมองทำให้มองเห็นเป็นภาพ
ภาพวาดแสดงบริเวณศูนย์กลางของจอประสาทตา

จอประสาทตา

จุดขนาดเล็กอยู่ตรงกลางจอตาซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์ตารูปทรงกรวยจำนวนมาก เซลล์ทรงกรวยทำให้มองเห็นภาพสีและการจัดเรียงภาพในจอประสาทตา ส่งผลให้เห็นจุดกึ่งกลางของการมองเห็น
ภาพวาดแสดงบริเวณของเหลวคล้ายเจลที่อยู่ภายในลูกตา

สารที่มีลักษณะเป็นน้ำ และ ก้อนใสๆ คล้ายวุ้นในโพรงลูกตา

สารน้ำในลูกตาที่ทำให้ลูกตาคงรูป

อะไรที่จะส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราได้?

ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตากำลังตรวจสอบสายตาด้วยฟอโรปเตอร์

ปัญหาด้านการมองเห็น

คุณมองวัตถุระยะไกลเป็นภาพเบลอหรือไม่? คุณมีปัญหาในการอ่านหรือไม่? เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและวิธีแก้ไขปัญหา

ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตากำลังมองลงไปที่เลนโซมิเตอร์

โรคตาที่พบบ่อย

จากตาสีชมพูสู่ ต้อหินการเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพตาเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เราตระหนักได้ว่าเมื่อใดควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา

เริ่มใส่คอนแทคเลนส์แอคคิววิว

ทดลองใส่คอนแทคเลนส์ฟรี

สมัครสมาชิกมายแอคคิววิว และทดลองคอนแทคเลนส์ฟรี ได้ที่ร้านแว่นตาที่ร่วมรายการใกล้บ้านคุณ

หาร้านค้าใกล้คุณ

ใช้แผนที่ของเรา ในการหาร้านแว่นตาใกล้คุณ ที่มีผลิตภัณฑ์ของแอคคิววิวจำหน่าย

รับส่วนลดพิเศษ

สมัครสมาชิกมายแอคคิววิว ฟรี เพื่อรับส่วนลดพิเศษสำหรับสมาชิกใหม่ พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆ

หมายเหตุ

อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

คำแนะนํา การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น

คำเตือน การใช้เลนส์สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธีมีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียตาอย่างถาวรได้

ข้อห้ามใช้ 1.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กําหนด 2.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น 3.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทําความสะอาดทุกวัน

ข้อควรระวัง 1.ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัส 2.ควรใช้น้ำยาล้าง เลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสําหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน 3. ควรเปลี่ยนตลับใส่เลนส์สัมผัส ทุกสามเดือน 4.ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทําให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้ 5.ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์ 6.หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือ ปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมาก หรือตาแดง ให้หยุดใช้เลนส์สัมผัสทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว 7.ห้ามใช้เลนส์สัมผัสถ้าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพชำรุดหรือถูกเปิดก่อนใช้งาน

ผู้นําเข้า บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เมดเทค (ประเทศไทย) จํากัด 134/1 ฉลองกรุง31 ลําปลาทิว ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทร 001 800 156 207 8225

2024PP12860
ACUVUE
We support the AdvaMed Code of Ethics on interacting with Healthcare Professionals.
โลโก้สัญลักษณ์สมาคมการค้าเครื่องมือแพทย์ของอเมริกา
เว็บไซต์นี้เผยแพร่โดย บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เมดเทค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเนื้อหาบนเว็บไซต์นี้แต่เพียงผู้เดียว เว็บไซต์นี้สำหรับใช้งานในประเทศไทย